เฉลยข้อสอบ O-Net

เฉลยข้อสอบ O-Net ปี 53

ข้อ1.เฉลย 1)    การจัดสรรปัจจัยผลิต                        
                        ปัจจัยผลิต คือ สิ่งต่างๆที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ            
                       1.ที่ดิน (Land) หมายถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด รวมถึงสิ่งที่ติดอยู่กับที่ดินที่สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการต่างๆได้ เช่น แร่ธาตุ น้ำ ป่าไม้ เป็นต้น            
                       2.แรงงาน (Labor) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ที่นำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งในด้านความสามารถ กำลังกาย และ สติปัญญา ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วมในการผลิตในทุกสาขาอาชีพ                                           
                        3.ทุน (Capital) หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิต จำพวกเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตต่างๆ            
                      4.ผู้ประกอบการ (Enterpreneurship) หมายถึง คนที่ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยทั้ง 3 ประเภท ผ่านกระบวนการผลิตเพื่อสร้างเป็นสินค้าและบริการต่างๆโดยมีแรงจูงใจคือกำไร (Profit)

                   กรณีเกิดขาดแคลนปัจจัยการผลิต ส่งผลการทบต่อระบบเศรฐกิจต้องประสบกับเรื่องการจัดสรรปัจจัยการผลิต เนื่องจากการที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าหรือบริการประเภทใด ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและการบริการ ได้แก่ ความต้องการของผู้บริโภค ผู้ผลิตจะต้องตอบปัญหาเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ว่าจะนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการอะไร จะผลิตสินค้าและบริการนั้นอย่างไร จะจัดสรรหรือขายสินค้าและบริการให้แก่ใครเพราะจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการของผู้บริโภคไม่จำกัด 


ข้อ2.เฉลย 4)    มี เพราะไม่ได้รับดอกเบื้อเงินฝากจากธนาคาร                        
                        พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยกระทรวงการคลัง มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ พันธบัตรเพื่อการลงทุน พันธบัตรเพื่อการกู้ยืม และพันธบัตรออมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา                        
                        กรณี “ผู้สูงอายุถอนเงินฝากประจำจากธนาคารจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีดังกล่าว จัดว่ามีต้นทุน เพราะไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร” การซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นการลงทุนระยะยาว และไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเหมือนธนาคาร 


ข้อ3.เฉลย 1)    ราคาเครื่องปรับอากาศ     

                        กฎอุปทาน (Law of Supply) สรุปได้ว่า ถ้าราคาสินค้าสูง อุปทานหรือปริมาณความต้องการเสนอขายจะสูงขึ้น แต่ถ้า ราคาสินค้าต่ำ อุปทานหรือปริมาณความต้องการเสนอขายจะต่ำลง
                        ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานมีดังนี้
1.ราคาสินค้าที่เสนอขาย
2.ราคาปัจจัยการผลิต
3.เทคนิคการผลิตหรือกรรมวิธีในการผลิต
4.การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าที่ใช้แทนกันได้ในสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกัน
5.การคาดคะเนราคาสินค้าถ้าผู้ผลิตคาดว่าสินค้าของตนเองในอนาคตจะสูงขึ้น
6.จำนวนผู้ผลิตหรือผู้ขาย

ข้อ4.เฉลย 3)    สหกรณ์ออมทรัพย์                        

                      สหกรณ์ออมทรัพย์ คือ สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการออมทรัพย์โดยสมาชิกแต่ละคนออมรายได้ฝากไว้กับสหกรณ์เป็นประจำและสม่ำเสมอในลักษณะของการถือหุ้น ผู้ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์จะได้รับผลประโยชน์จากสหกรณ์ออมทรัพย์ ดังนี้
1.เสริมสร้างนิสัยการออมทรัพย์ การพึ่งตนเอง และฐานะการเงินที่มั่นคง
2.ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขที่เหมาะสมในยามที่จำเป็น
3.มีส่วนเป็นเจ้าของ บริหารจัดการ และควบคุมสถาบันการเงินของตนเอง
4.ได้รับบริการต่างๆ เช่น การศึกษาอบรมเกี่ยวกับการเงิน อาชีพ และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
5.ได้รับสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ เช่น ทุนการศึกษาบุตร
6.ลักษณะเช่นนี้เป็นการลดความเสี่ยง ถือเป็นกลไกในการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองได้เหมาะสม และสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องการพึ่งตนเอง
         
ข้อ5. เฉลย 2)    ดุลรายได้-รายจ่ายรัฐบาลเกินดุล
                     เงินคงคลัง หมายถึง เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในปีก่อนๆ ซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้ ในปีที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ และรัฐบาลไม่ต้องการก่อหนี้เพิ่มขึ้น
                     สามารถนำออกมาใช้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่กดหมายกำหนด กรณีที่จะส่งผลให้คงคลังเพิ่มขึ้น คือ งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่าย เช่น รัฐบาลมีรายจ่าย 900,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ประเภทต่างๆ ได้ถึง 910,000 ล้านบาท รายได้ของรัฐบาลจึงสูงกว่ารายจ่าย 10,000 ล้านบาท

ข้อ6. เฉลย 3)     หมุนเวียนจากหน่วยธุรกิจไปสู่ครัวเรือน
                       หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยงานที่มีระบบเศรษฐกิจรวมตัวกัน เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามหน้าที่ตน เช่น หน้าที่ผลิต บริโภค หรือให้ปัจจัยการผลิตแก่ผู้ผลิต เป็นต้น เพื่อให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ และเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน
                      มนุษย์ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของหน่วยเศรษฐกิจทั้งสิ้น ทั้งในฐานะของผู้ผลิต
ผู้บริโภค หรือฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นต้น
1.หน่วยครัวเรือนหมายถึง ครัวเรือนทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ  หรือประชาชนที่รวมตัวกันเป็นครอบครัว หน่วยครัวเรือนมีหน้าที่สองประการคือ
1.1เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต (ที่ดิน แหล่งงาน ทุน และผู้ประกอบการ)
และขายปัจจัยการผลิตให้แก่ผู้ผลิต
1.2ภาคสินค้าและบริการ หน่วยครัวเรือนจัดซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิตมาใช้บริโภคช่วยให้ผู้ผลิตสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
2.หน่วยธุรกิจ หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่ ผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยมุ่งหวังผลกำไรหรือเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและสังคม เช่น ห้างร้าน บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม
3.หน่อยรัฐบาล หมายถึง หน่อยราชการหรือหน่วยของรัฐทั้งหมด ทั้งในส่วนกลาง หรือ ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่ควบคุมดูแล
          การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ให้ บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อความอยู่ดีกินของประชาชน
       ดังนั้นการหมุนเวียนของสินค้าและบริการระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ คือ การหมุนเวียนจากหน่อยธุรกิจไปสู่ครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนทุกคนอยู่ดีกินดี มีความสุข

ข้อ7. เฉลย 2)     อุปสงค์ต่อข้าวสารมากกว่าอุปทานของข้าวสาร
                        อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคเต็มใจจะซื้อ และมีความสามารถซื้อได้ ณ ระดับราคาที่ต่างกันในตลาดระดับหนึ่ง
                        กฎของอุปสงค์ สรุปได้ดังนี้ “ถ้าสินค้าราคาสูง อุปสงค์ความต้องการซื้อจะต่ำ” “แต่ถ้าราคาสินค้าต่ำ อุปสงค์หรือปริมาณความต้องการซื้อจะสูงขึ้น
                       ในระบบตลาด หากปริมาณความต้องการข้าวสารมากกว่าปริมาณผู้เสนอขายข้าวสาระทำให้ข้าวสารขาดแคลนหรือข้าวสารขาดตลาด มีผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น เรียกง่า อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)

ข้อ8. เฉลย 3)    ดุลการชำระเงิน
                       ทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve) หมายถึง บรรดาสินทรัพย์ระหว่างประเทศทั้งหมดที่อยู่ในความครอบครองของธนาคารแห่งประเทศไทย (เงินตราต่างประเทศ ทองคำแท่ง พันธบัตร เงินฝากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ – IMF) จำนวนเงินตราต่างประเทศจะแปรผันตามดุลการชำระเงินคือ ถ้าประเทศมีการชำระเงินเกินดุล จะมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อขาดดุล ทุนสำรอง ระหว่างประเทศก็จะลดลง

ข้อ9. เฉลย 3)     สภาพคล่องภายในประเทศเพื่มขึ้น
                        การกู้ยืมเงินทั้งจากภายในประเทศ และจากต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโคลงการต่างๆของรัฐบาล ซึ่งการกู้ยืมเงินนี้ เรียกว่า การก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้จ่ายก่อนแล้วเก็บภาษีมาใช้หนี้ทีหลัง ดั้งนั้นการพิจารณาภาระของหนี้สินที่กู้ยืมจากต่างประเทศจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากการก่อหนี้ภายในประเทศ สรุปได้ดังนี้
                    1.ภาระหนี้สินย่อมตกแก่ลูกหลาน ถ้าหากกู้มาใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ในกรณีที่รัฐบาลทำการกู้ยืมเงิน จากต่างประเทศมาใช้จ่ายเพื่อนการบริโภคในปัจจุบัน ภาระของการก่อหนี้ดังกล่าวย่อมตกแก่งลูกหลานในอนาคต
                    2.ภาระหนี้สินอาจจะไม่ตกแก่ลูกหลาน ถ้าหากกู้มาเพื่อใช้ในการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ในกรณีที่รัฐบาลกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้จ่ายในการลงทุน และการลงทุนในแต่ละโครงการนั้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับเงินที่ใช้ในการลงทุนนั้น
               อย่างไรก็ตามการพิจารณาการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับค่าใช่จ่ายในการกู้ยืม หรืออัตตราดอกเบี้ยประกอบ คือ ถ้าอัตตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมจากต่างประเทศมีอัตตราต่ำกว่าการกู้ยืมภายในประเทศ การกู้ยืมเงินดังกล่าวก็จะเป็นประโยชน์ต่อคนในรุ่นต่อไป แต่กรณีตรงกันข้าม ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยที่กู้ยืมนั้นสูงกว่าการกู้ยืมภายในประเทศ การกู้ยืมดังกล่าวก็จะเป็นผลเสียต่อคนในรุ่นต่อไปได้เหมือนกัน เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้จะต้องพิจารณาความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงด้วย
                     สรุปผลที่เกิดขึ้นกับการกู้เงินดังกล่าวรัฐบาลกู้เงินมาลงทุนย่อมมีผลทำให้สภาพคล่องภายในประเทศเพิ่มขึ้น

ข้อ10. เฉลย 2)      วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย
                         ภาวะเศรษฐกิจโลก พ.. 2550 ชะลอตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศคู่ค้า ซึ่งหมายถึงอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกจากประเทศไทยที่ลดลงด้วย ทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย เป็นช่วงเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.. 2550-2554) ในระยะแรกเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวตามไปด้วย

ข้อ11.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 2) และ 4)

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญมีดังนี้ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ 1.คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 2.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ องค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ 1.องค์กรอัยการ 2.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 3.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ข้อ12.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 2) และ 4)
ปัจจัยการผลิตประกอบด้วย
1.ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่บนพื้นดิน (Land and Resoures) เจ้าของปัจจัยได้รับผลตอบแทนในรูปค่าเช่า
2.แรงงาน (Laber) คือ กำลังแรงงานของมนุษย์ที่ทำให้ก่อการเกิดสินค้า (อายุ 15-60 ปี) ผลตอบแทนในรูปค่าจ้างหรือเงินเดือน
3.ทุน (Capital) คือ ปัจจัยที่ใชัในการลงทุนทำการผลิตสินค้าหรือบริการ ประกอบด้วยทุนทางกายภาพ หรือในรูปตัวเงิน อยู่ในรูปค่าจ้างเงินเดือน ผลตอบแทนด้วยอัตราดอกเบี้ย
4.ผู้ประกอบการ (entrepreneur) คือ ผู้ที่รวบรวมการผลิตปัจัยทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ที่ดิน ต้นทุน และแรงงาน เพื่อทำการผลิต ได้ผลในรูปกำไร ดังนั้นบุคคลที่ได้รับค่าตอบแทน ในฐานะเป็นเจ้าของการผลิต คือ 2) นายดำรับจ้างหักฝักข้าวโพด ได้ค่าจ้างวันละ 100 บาท จัดเป็นปัจจัยการผลิตประเภท "แรงงาน" 4)นางเจริญให้เพื่อนบ้านยืมเงิน 10000 บาท ได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน จัดเป็นปัจจัยการผลิตประเภทต้นทุน


ข้อ13.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 1) และ 2)
 ผู้ผลิต (producer) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน วัตถุดิบ เข้าสู่กระบวนการผลิต อพื่อเปลี่ยนปัจจัยการผลิตต่างๆเป็นสินค้าและบริการต่างๆตามวิธีที่ต้นเองมีอยู่เพื่อตอบสนองความตัองการของผู้บริโภค และในทางเศรษฐศาสตร์สามารถกำหนดให้ผู้ผลิตสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1.แสวงหากำไรสูงสุดจากการผลิตและการขาย

2.ผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ14.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 3) และ 4)
                        อุปสงค์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ (demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ณ ระดับราคาต่างๆในเวลาหนึ่งเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่โดยอุปสงค์จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1.ความต้องการที่จะซื้อ
3.ความเต็มใจที่จะซื้อ กฎอุปสงค์ คือ "หากกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่อุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าน้อยลง เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นหรือสูงขึ้น และอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าลดลง" ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดของผู้บริโภคต่อบะหมีกึ่งสำเร็จรูป ราคาสินค้าและบริการที่ต้องการจะซื้อ


ข้อ15.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้อง 3 คำตอบคือ 1), 2), และ 3)
                        สหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทยตั้งขึ้น ณ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุดลก ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก โดนจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ..2549 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ..2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรก สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนซึ่งกู้จากแบงค์สยามกัมมาจลเป็นจำนวน 3,000 บาท มีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน สหกรณ์แห่งแรกมีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือบุคคลที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 


ข้อ16.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 2) และ 3)
                        ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีดังนี้
                        2.เอกชนดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้โดยเสรี
                        3.ราคาเป็นกลไกในการปรับตัวแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
                        4.กำไรเป็นสิ่งจูงใจในการประกอบการและค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ
                        5.รัฐบาลไม่แข่งขันกับธุรกิจเอกชน แต่เป็นผู้สนับสนุน สร้างบรรยากาศ เอื้ออำนวย


ข้อ17.เฉลย      มีจำนวนคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบคือ 1) และ 3)
                        อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หมายถึง อัตราค่าจ้างนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานไร้ฝีมือเมื่อแรกเข้าทำงานเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว (ตัวลูกจ้าง+ภรรยา+บุตร2คนให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข            


ข้อ18.เฉลย      มีจำนวนที่ถูกต้องจำนวน 3 คำตอบ คือ
            นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน มีลักษณะสำคัญเป็นนโยบายการค้าที่มุ่งสนับสนุนการผลิตภายในประเทศโดนรัฐบาลจะใช้มาตรการส่งเสริมการส่งออกและกีดกันการนำเข้า โดยสร้างเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ เพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศไม่ให้เข้ามาตีตลาด หรือเป็นคู่แข่งกับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
            ผลของการนำนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
1.สินค้านำเข้ามีราคาขายในประเทศสูงขึ้น
2.การผลิตในประเทศขยายตัวมากขึ้น
3.มีการจ้างแรงงานภายในประเทศมากขึ้น 


ข้อ19.เฉลย      มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 1) และ 2)
            การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1.การให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Arrangement) เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเบื้องต้น ส่วนใหญ่ให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับอาณานิคมเดิม เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์ เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ (British Common Wealth)
2.เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เป็นการรวมกลุ่มขึ้นต้ม มีลักษณะเด่นคือ
-ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty)
-ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้า
-ไม่กำหนดโควตา  ลดเงื่อนไขอุปสรรคทางการค้า ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า
-ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น AFTA, NAFTA
3.สหภาพศุลกากร (Customs Union) เป็นการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับที่ลึกและกว้างกว่าเขตการค้าเสรี เพราะมีลักษณะที่เป็นตลาดร่วม ซึ่งไม่มีกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกในสหภาพศุลกากร เก็บภาษีศุลกากรอัตราเดียวกันกับทุกประเทศนอกกลุ่ม สหภาพศุลกากรจึงทำให้ประเทศในกลุ่มมีสภาพเป็นเสมือนประเทศเดียวกันหรือตลาดเดียวกัน สหภาพศุลกากรที่สำคัญ คือ สหภาพยุโรป (European union)
4.ตลาดร่วม (Common Market) ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะมีการเคลื่อนย้ายทุน สินค้า แรงงาน เครื่องจักร เทคโนโลยี บริการ และนักลงทุนได้โดยเสรี เช่น ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย เป็นต้น
5.สหภาพเศรษฐกิจ (Econamic Union) เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าสมบูรณ์ที่สุด นอกจากครอบคลุมลักษณะของตลาดร่วมแล้ว ยังมีการใช้สถาบันทางเศรษฐกิจอื่นๆ ร่วมกันหรือแบบเดียวกัน อาทิ การใช้เงินตราอย่างเดียว โดยมีการสร้างเงินตราชนิดใหม่มาใช้ร่วมกัน การกำหนดนโยบายการเงินและการคลังชุดเดียวกัน สำหรับการเจรจาทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ก็มอบหมายให้องค์กรร่วมที่จัดตั้งขึ้นทำหน้าที่ต่างๆ ในนามของประเทศภาคีทั้งหมด อย่างเช่น เป็นผู้แทนในการทำหน้าที่ทั้งหมดเกี่ยวกับ WTO เช่น สหภาพเศรษฐกิจ ได้แก่ สหภาพยุโรป (Eu)
องค์การความร่วมมือของเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ขั้นต้น ได้แก่
-OPEC (Organization of petroleum Exporting countries) เพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกของประเทศผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ของโลก และตั้งราคาน้ำมัน ด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งของกลุ่มจากการค้าขายน้ำมัน
-APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเศรษฐกินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อตอบสนองต่อภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกันของเศรษฐกิจในเอเชียนแปซิฟิกที่เพิ่มมากขึ้น



ข้อ20.เฉลย มีคำตอบที่ถูกต้องจำนวน 2 คำตอบ คือ 1) และ 4)
การพัฒนาของเศรษฐกิจไทยมีการดำเนินการมากว่า 50 ปี แต่ประเทศไทยยังมีปัญหาดังนี้
1.ความเหลื้อบล้ำของการกระจายรายได้ ระดับรากหญ้าคนไทยยากจนกว่าเดิม
2.ความไม่สมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น